นิทรรศการปวนและเสรี
ลำปาง..เมืองเนิบช้า
เมืองที่ยังมีเรื่องราวความสวยงาม
ของประวัติศาสตร์ที่ซ่อนและดำเนินอยู่คู่กันไป
ในอดีตยุคความรุ่งเรืองทางน้ำ สมัยเมื่อลำปางทำอุตสาหกรรมป่าไม้กับรัฐบาลอังกฤษ
เชื่อมต่อกับยุคที่ขบวนรถไฟสายเหนือมาสิ้นสุดที่ลำปาง
ส่งผลให้เศรษฐกิจในยุคนั้นๆของลำปางเจริญเฟื่องฟูอย่างโดดเด่น
เมืองที่ยังมีเรื่องราวความสวยงาม
ของประวัติศาสตร์ที่ซ่อนและดำเนินอยู่คู่กันไป
ในอดีตยุคความรุ่งเรืองทางน้ำ สมัยเมื่อลำปางทำอุตสาหกรรมป่าไม้กับรัฐบาลอังกฤษ
เชื่อมต่อกับยุคที่ขบวนรถไฟสายเหนือมาสิ้นสุดที่ลำปาง
ส่งผลให้เศรษฐกิจในยุคนั้นๆของลำปางเจริญเฟื่องฟูอย่างโดดเด่น
ร้านรวงอาคารพาณิชย์ต่างนิยมทำป้ายชื่อไม้แกะสวยๆ
เพื่อประดับประดาตกแต่งร้านให้งามสมฐานะ เป็นหน้าเป็นตาของธุรกิจ
หนึ่งในศิลปินรับทำงานป้ายไม้ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นก็คืออาจารย์.ป.สุวรรณสิงห์
ปรมาจารย์ที่เก่งระดับเซียน ด้วยฝีมือการทำป้ายของท่านนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคเหนือ
แม้ร้านดังๆของจังหวัดอื่นใกล้เคียง ก็ต้องเดินทางมาสั่งป้ายร้านที่นี่เท่านั้น
เพราะวิธีการทำงานซึ่งถือว่ามีมาตรฐานสูงมาก สำหรับยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์
เพื่อประดับประดาตกแต่งร้านให้งามสมฐานะ เป็นหน้าเป็นตาของธุรกิจ
หนึ่งในศิลปินรับทำงานป้ายไม้ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นก็คืออาจารย์.ป.สุวรรณสิงห์
ปรมาจารย์ที่เก่งระดับเซียน ด้วยฝีมือการทำป้ายของท่านนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคเหนือ
แม้ร้านดังๆของจังหวัดอื่นใกล้เคียง ก็ต้องเดินทางมาสั่งป้ายร้านที่นี่เท่านั้น
เพราะวิธีการทำงานซึ่งถือว่ามีมาตรฐานสูงมาก สำหรับยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์
ตามประวัตินั้นกล่าวว่าท่านได้ร่ำเรียนองค์ความรู้ภาคปฏิบัติ
จากพระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ผู้เป็นช่างจิตรกรหลวงและช่างภาพในสมัยรัชกาลที่ 6
ที่ถูกส่งมาอยู่ภาคเหนือ เพื่อนำศิลปะแห่งกรุงสยามมาเผยแพร่
โดยผลงานระยะแรกนั้นเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่
ต่อมาท่านอาจารย์ป.สุวรรณสิงห์ ได้นำความรู้ศิลปะเหล่านี้
มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบตัวอักษรป้ายไม้ ในสไตล์ของตัวเอง
จากพระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ผู้เป็นช่างจิตรกรหลวงและช่างภาพในสมัยรัชกาลที่ 6
ที่ถูกส่งมาอยู่ภาคเหนือ เพื่อนำศิลปะแห่งกรุงสยามมาเผยแพร่
โดยผลงานระยะแรกนั้นเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่
ต่อมาท่านอาจารย์ป.สุวรรณสิงห์ ได้นำความรู้ศิลปะเหล่านี้
มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบตัวอักษรป้ายไม้ ในสไตล์ของตัวเอง
ผลงานการออกแบบตัวอักษรของท่านนั้น แม้แต่นักกราฟิคดีไซเนอร์ผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบัน
ยังต้องยอมรับและยกนิ้วในผลงานทุกชิ้น
นับตั้งแต่ออกแบบโครงสร้างตัวอักษร หรือ Font structure ที่มีความสวยงามมาก
การเว้นจังหวะช่องไฟที่ไม่มีผิดเพี้ยน การออกแบบอัตลักษณ์ทางตัวอักษรให้เข้ากับธุรกิจหรือลักษณะร้าน
ซึ่งมีความเฉพาะตัว ไม่เหมือนกัน การเลือกใช้สีและวัสดุที่ทาแล้วมีสีทนทานสวยงาม
คงความชัดเจนผ่านกาลเวลามากกว่า ครึ่งศตวรรษขึ้นไป
ยังต้องยอมรับและยกนิ้วในผลงานทุกชิ้น
นับตั้งแต่ออกแบบโครงสร้างตัวอักษร หรือ Font structure ที่มีความสวยงามมาก
การเว้นจังหวะช่องไฟที่ไม่มีผิดเพี้ยน การออกแบบอัตลักษณ์ทางตัวอักษรให้เข้ากับธุรกิจหรือลักษณะร้าน
ซึ่งมีความเฉพาะตัว ไม่เหมือนกัน การเลือกใช้สีและวัสดุที่ทาแล้วมีสีทนทานสวยงาม
คงความชัดเจนผ่านกาลเวลามากกว่า ครึ่งศตวรรษขึ้นไป
ผลงานป้ายไม้แกะ ป้ายไม้ทาสี ตัวอักษรที่เขียนตามวัด ตามโรงเรียน โรงพยาบาล
โดย อาจารย์ป.สุวรรณสิงห์ และเหล่าลูกศิษย์ โดยเฉพาะคุณตาเสรี เสริมสุข
ศิษย์ผู้เดียวที่สืบทอดผลงานการทำป้ายร้านแบบโบราณ ( ปัจจุบันอายุ 86 ปี )
ยังคงมีให้เห็นทั่วเมืองลำปาง ตามร้านค้าย่านถนนเก่า ป้ายวัดวาอาราม หรือแม้แต่สถานที่ราชการ
นับเป็นไลฟ์มิวเซียม ที่นักท่องเที่ยวผู้สนใจศิลปะด้านนี้ สามารถหาชมหรือเก็บภาพถ่ายได้
ตามแต่ใจและสองเท้าจะพาไปเลยค่ะ
โดย อาจารย์ป.สุวรรณสิงห์ และเหล่าลูกศิษย์ โดยเฉพาะคุณตาเสรี เสริมสุข
ศิษย์ผู้เดียวที่สืบทอดผลงานการทำป้ายร้านแบบโบราณ ( ปัจจุบันอายุ 86 ปี )
ยังคงมีให้เห็นทั่วเมืองลำปาง ตามร้านค้าย่านถนนเก่า ป้ายวัดวาอาราม หรือแม้แต่สถานที่ราชการ
นับเป็นไลฟ์มิวเซียม ที่นักท่องเที่ยวผู้สนใจศิลปะด้านนี้ สามารถหาชมหรือเก็บภาพถ่ายได้
ตามแต่ใจและสองเท้าจะพาไปเลยค่ะ
และในช่วงเวลานี้ โอกาสดีที่ทาง อาจารย์ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ อาจารย์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) กรุงเทพฯ ลูกหลานชาวลำปาง เป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องประวัติการทำงาน และตามเก็บรวบรวมภาพผลงานของ ป.สุวรรณสิงห์และลูกศิษย์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดนิทรรศการเพื่อเชิดชูศิลปินท้องถิ่นคนสำคัญ โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ ศรีชนา เจริญเนตร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อีกท่านที่มีความชื่นชอบและสะสมผลงานด้านนี้เช่นกัน
โดยได้รับการสนับสนุนโครงการเพื่อจัดนิทรรศการครั้งนี้จาก
สาขาหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และภาควิชากระบวนจินตภาพคอมพิวเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กลุ่มเซียมไท้ และหอการค้าจังหวัดลำปาง โดยได้รับการสนับสนุนสถานที่จัดงานโดยหอศิลป์ลำปาง มูลนิธิ นิยม ปัทมะเสวี ที่เอื้อเฟื้อสถานที่หอศิลปะการแสดง บ้านบริบูรณ์ให้จัดนิทรรศการครั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 4 มีนาคม – 26 เมษายน 2560 ใครอยู่ต่างจังหวัด ช่วงวันหยุดยาวต่างๆ อย่าลืมแพลนมาเที่ยวลำปาง แล้ววะมาชมนิทรรศการกันนะคะ
โดยได้รับการสนับสนุนโครงการเพื่อจัดนิทรรศการครั้งนี้จาก
สาขาหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และภาควิชากระบวนจินตภาพคอมพิวเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กลุ่มเซียมไท้ และหอการค้าจังหวัดลำปาง โดยได้รับการสนับสนุนสถานที่จัดงานโดยหอศิลป์ลำปาง มูลนิธิ นิยม ปัทมะเสวี ที่เอื้อเฟื้อสถานที่หอศิลปะการแสดง บ้านบริบูรณ์ให้จัดนิทรรศการครั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 4 มีนาคม – 26 เมษายน 2560 ใครอยู่ต่างจังหวัด ช่วงวันหยุดยาวต่างๆ อย่าลืมแพลนมาเที่ยวลำปาง แล้ววะมาชมนิทรรศการกันนะคะ
ส่วนลูกหลานชาวลำปางที่อยู่ในลำปาง คงต้องบอกเลยว่า...งานนี้ห้ามพลาดนะคะ ^-^
**ป.ล ค่าใช้จ่ายในการทำนิทรรศการครั้งนี้ ได้เริ่มต้นทำจากเงินทุนส่วนตัว
ของ อ.พจน์ กลุ่มเซียมไท้ และมีผู้สนับสนุนอีก 2-3 ท่าน รวมถึงหอการค้าจังหวัดลำปาง
อย่างไรก็ตาม ยังมีความต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกพอประมาณ
เพื่อให้นิทรรศการครั้งนี้สมบูรณ์แบบที่สุด
หากใครที่สนใจและเห็นคุณค่าของงานครั้งนี้
สามารถร่วมสนับสนุนและแจ้งความจำนงค์ได้ที่ อ.ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลย์สิริ
https://www.facebook.com/aksornsanan.poj ได้เลยค่ะ
ของ อ.พจน์ กลุ่มเซียมไท้ และมีผู้สนับสนุนอีก 2-3 ท่าน รวมถึงหอการค้าจังหวัดลำปาง
อย่างไรก็ตาม ยังมีความต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกพอประมาณ
เพื่อให้นิทรรศการครั้งนี้สมบูรณ์แบบที่สุด
หากใครที่สนใจและเห็นคุณค่าของงานครั้งนี้
สามารถร่วมสนับสนุนและแจ้งความจำนงค์ได้ที่ อ.ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลย์สิริ
https://www.facebook.com/aksornsanan.poj ได้เลยค่ะ
Comments
Post a Comment